มาช่วยกันแก้วิกฤตของการศึกษาไทยกันอีกแรง

Posts tagged ‘geography’

ข้อสอบไม่ประเทืองปัญญา

หลายคนคงเคยได้ยินว่า การศึกษาไทยเน้นจำ ไม่สอนให้คิด ให้เข้าใจ ให้ประยุกต์ และไม่สอนให้รู้จักทางเลือก ลองดูตัวอย่างคำถามในข้อสอบภูมิศาสตร์ต่อไปนี้

ข้อใด คืือ ดินแดนทางตะวันตกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ

  • คลองปานามา
  • เมืองแวนคูเวอร์
  • รัฐอะลาสกา
  • คาบสมุทรยูคาตัน

ลองดูภาพข้างล่างนี้

จากแผนที่นี้จะเห็นว่า Alaska อยู่ตะวันตกสุด เราก็ได้คำตอบแบบง่ายๆ

นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทั้งครู นักเรียน และพ่อแม่ชอบข้อสอบแบบนี้ เพราะ มันง่าย จำอย่างเดียว ได้คะแนนชัวร์ๆ

ผมมีคำถามเพิ่มเติม คือ คุณว่า Alaska นั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอะไร ระหว่างแคนาดา กับสหรัฐอเมริกา?

บางท่านที่ไม่รู้คงตอบว่า แคนาดา เพราะมันอยู่ติดแคนาดา แต่ความจริงแล้ว Alaska เป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกาต่างหาก ดูแผนที่ทางการปกครองนี้ดู

เห็นอย่างนี้แล้ว มีคำถามอะไรไหม?
ถ้ามีคำถาม แสดงว่า คุณรู้จักคิด รู้จักสังเกตุ คำถามที่คุณสงสัยอาจจะได้แก่

  • ทำไม Alaska จึงเป็นของ สหรัฐอเมริกา เพราะในทางภูมิประเทศ มันอยู่ห่างกันมาก
  • ห่างกันอย่างนี้ ตอนปกครองเขาทำกันอย่างไร

เป็นต้น

ถ้านี่เป็นคำถาม ที่ครูใช้ถามนักเรียน ตอนเริ่มต้นสอนเรื่องนี้ จะเป็นการเหมาะสมมากกว่า เพราะใช้กระตุ้นความคิดนักเรียนได้ แต่ความยากก็ตกอยู่กับครูที่จะต้องกระตุ้นความคิดเด็กให้ได้ ส่วนคำตอบนั้น ก็ขึ้นกับความรู้ของครูว่ามีแค่ไหน รู้มากพอจะตอบไหม หรือจะให้เด็กไปทำเป็นการบ้าน เพื่อให้ทั้งเด็ก (และผู้ปกครอง) ได้ความรู้เอง

หมายเหตุ สมัยนี้ พ่อแม่เรียนไปกับลูกจริงๆ พ่อแม่ก็ฉลาดขึ้นด้วย

ลองดูโจทย์อีกข้อไหม

ทวีปอเมริกาเหนือ และใต้นั้นมีพรมแดนทางบก ติดต่อกันบริเวณประเทศใด

  • ปานามา กับ โคลัมเบีย
  • ปานามา กับ เวเนซูเอล่า
  • สหรัฐอเมริกา กับ แม็กซีโก
  • แคนาดา กับ สหรัฐอเมริกา

เฉลย คือ ปานามา กับ โคลัมเบีย

มันก็น่าจะ “ใช่” นะ เพราะตัวเลือกอื่นๆ มันผิดอย่างแน่นอน

แต่ก็อาจมีคนเถียงว่า เคยได้ยินคำว่า อเมริกากลาง ไหม

บ่อยครั้งที่เมื่อเรารู้มากขึ้น เราก็เจอกับการ “แบ่ง” ที่มีหลากหลายแนวคิด ครูบางท่านก็อาจคิดว่า ไม่น่าเหมาะ ที่จะสอนนักเรียนให้รู้อะไรหลายแบบ จนเด็กสับสน เลยสอนให้จำอันที่ง่ายๆ แล้วพอมันฝังหัวนักเรียนไปแล้ว ถึงเวลาเขาไปเจอคำตอบอีกอย่างหนึ่ง เขาจะยิ่งสับสนมากกว่าเสียอีก

อย่างเรื่องการแบ่งทวีป เราเรียนมาว่า มี 7 ทวีป เราก็จำกันมาอย่างนั้น มันก็น่าแปลกที่บางประเทศแบ่งเป็น 5 ทวีปบ้าง 6 ทวีปบ้าง จุดสำคัญ ไม่ใช่จำ แต่ตั้งคำถามต่างหาก ว่าทำไมเขาแบ่งอย่างนั้น เขามีเหตุผลอะไร เขาคิดอย่างไรต่างหาก นั่นซิน่าสนใจ

ยังมีำคำถามอีกหลายข้อที่ออกมาแนวนี้ เช่น ทะเลสาบขนาดใหญ่ทั้ง 5 บริเวณพรมแดน แคนาดา กับสหรัฐอเมริกา ได้แก่ชื่ออะไรบ้าง เป็นต้น

ถ้าคุณมีคำถามดีๆ สำหรับวิชาไหน ที่ลูกคุณเรียนอยู่ ลองเสนอมาได้ครับ
เพื่อนผมคนหนึ่ง ถามได้ดีมาก “ทำไมบ้านเราใช้ไฟ 220V บางประเทศใช้ 110V ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเราก็ใช้ไฟ 110V”

แผ่นดินไหว กับ Google Earth

ช่วงที่มีแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ที่ญี่ปุ่น ผมโหลดข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวจาก http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eqarchives/epic/kml/ มาแสดงผลบน Google Earth รวมทั้งนำข้อมูลแผ่นดินไหวในปี 2011 เทียบกับ 2010 ผลที่ได้เป็นดังภาพ (เคยเอาลง Facbook ไปแล้วครั้งหนึ่ง คราวนี้เลยขอเก็บความรู้ของตัวเองไว้บนบล็อกด้วย)

ปี 2011 จุดสีคือตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ขนาดของวงกลมคือขนาดความรุนแรง
วงใหญ่ที่เห็นนั้น คือ 9 ริกเตอร์

ปี 2010

ถ้าเราเอาแผนภูมินี้ไปให้นักเรียนดู แล้วสังเกตว่านักเรียนจะว่าอย่างไรบ้าง เพื่อนครูด้วยกันเอง เห็นอะไรจากภาพทั้ง 2 บ้าง

แน่นอนว่า เราไม่ใช่นักธรณีวิทยา เราก็ตอบคำถามไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้น
ครูจึงไม่ต้องห่วงว่า เราตอบไม่ได้ นักเรียนจะว่าอย่างไง
และเพราะจุดสำคัญ มันอยู่ที่ ข้อมูล เทคโนโลยี การเก็บสาระจากแผนภาพ ความคิด และการตั้งคำถามมากกว่า

ในการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เราต้องป้อนมุมมองใหม่ที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบันและอนาคตของโลก ให้นักเรียนได้ทราบด้วย
ซึ่งนี่น่าจะจัดอยู่ในเรื่องของ Global awareness ของ 21 century skill ได้ด้วย

นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว คุณหาข้อมูล สึนามิ หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่มันเกิดขึ้นกับโลกในช่วงที่ผ่านมาได้ไหม?